ทำความรู้จักเรื่อง 'ปลวก' (Termites)
ปลวกเป็นแมลงที่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจมาก มีทั้งคุณและโทษ ในแง่ประโยชน์ ปลวกจัดเป็นส่วนหนึ่งของสังคมป่าไม้ที่สำคัญมาก เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายในระบบนิเวศ โทษของปลวกนั้นเกิดขึ้น เพราะว่าปลวกเป็นแมลงที่ต้องการเซลลูโลสเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิต และเซลลูโลสนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเนื้อไม้ ดังนั้นเราจึงพบปลวกเข้าทำความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่ไม้ หรือโครงสร้างภายในอาคารบ้านเรือน รวมถึงวัสดุข้าวของ เครื่องเรือน เครื่องใช้ต่างๆ ที่ทำมาจากไม้และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทีมีเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบ
ในประเทศไทยมีปลวกแพร่กระจายอยู่กว่าหนึ่งร้อยห้าสิบชนิด แต่มีเพียงสิบกว่าชนิดเท่านั้นที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อไม้ที่นําไปใช้ประโยชน์ ปลวกใต้ดินจัดเป็นปลวกที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจสูงทีสุด โดยก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน คิดเป็นมูลค่าปีละหลายร้อยล้านบาท การเข้าทําลายของปลวกชนิดนี้เริ่มขึ้นจากปลวกที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดินทําท่อทางเดินดิน ทะลุขึ้นมาตามรอยแตกแยกของพื้นคอนกรีต หรือรอยต่อเชื่อมระหว่างผนัง เสา หรือคานคอดิน เพื่อเข้าไปทําลายโครงสร้างไม้ต่างๆ ภายในอาคาร เช่น เสาและคานไม้ พื้นปาร์เก้ คร่าวเพดาน คร่าวฝา ไม้ วงกบ ประตู และหน้าต่าง เป็นต้น ในการดํารงชีวิตของปลวกใต้ดิน นอกจากอาหารแล้ว ความชื้นเป็นปัจจัยที่สําคัญในการดํารงชีวิตของปลวกอีกด้วย
วงจรชีวิตปลวก (Termite Life Cycle)
ปลวกเป็นแมลงที่มีชีวิตความเป็นอยู่แบบสังคม มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ภายในรัง โดยทั่วไปมีนิสัยไม่ชอบแสงสว่าง ชอบที่มืดและอับชื้น ประชากรปลวกมีการแบ่งแยกหน้าที่การทำงานออกไปตามวรรณะต่างๆ รวม 3 วรรณะ คือ
วรรณะสืบพันธุ์ หรือแมลงเม่า
ประกอบด้วยตัวเต็มวัยที่มีปีกทั้งเพศผู้และเพศเมีย ทำหน้าที่สืบพันธุ์และกระจายพันธุ์ โดยจะบินออกจากรังเมื่อดินฟ้าอากาศเหมาะสม เมื่อจับคู่กันแล้วจะสลัดปีก ผสมพันธุ์กันและหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อวางไข่
วรรณะกรรมกร หรือปลวกงาน
เป็นปลวกตัวเล็กสีขาวนวล ไม่มีปีก ไม่มีเพศ ไม่มีตาใช้หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึกคลำทาง ทำหน้าที่เกือบทุกอย่างภายในรัง เช่น หาอาหารมาป้อนราชินี ราชา ตัวอ่อนและทหาร ซึ่งไม่หาอาหารกินเอง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สร้างรัง ทำความสะอาดรัง ดูแลไข่ เพาะเลี้ยงเชื้อราและซ่อมแซมรังที่ถูกทำลาย
วรรณะทหาร
เป็นปลวกที่มีหัวโต สีเข้มและแข็ง มีกรามขนาดใหญ่ ซึ่งดัดแปลงไปเป็นอวัยวะคล้ายคีมที่มีปลายแหลมคม เพื่อใช้ในการต่อสู้กับศัตรูที่มารบกวนสมาชิกภายในรัง ไม่มีปีก ไม่มีตา ไม่มีเพศ บางชนิดจะดัดแปลงส่วนหัวให้ยื่นยาวออกไปเป็นงวง เพื่อกลั่นสารเหนียวปล่อยหรือพ่นไปติดตัวศัตรูทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้หรืออาจทำให้ตายได้
ความสําคัญของปลวก
ปลวกเป็นแมลงที่มีความสําคัญในแง่เศรษฐกิจมาก คือมีทั้งประโยชน์และโทษ
ประโยชน์ที่ได้รับจากปลวก ปลวกเป็นแมลงที่มีบทบาทสําคัญมากในระบบนิเวศวิทยาป่าไม้ คือ
- ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุต่างๆ ได้แก่ เศษไม้ ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ และส่วนต่างๆ ของพืช ที่หักร่วงหล่นหรือล้มตายทับถมกันอยู่ในป่าแล้วเปลี่ยนให้หลายสภาพเป็นฮิวมัสในดิน เป็นต้น กำเนิดของขบวนการหมุนเวียนของธาตุอาหารจากพืชไปสู่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้พรรณพืชทุกระดับในป่าธรรมชาติ เจริญเติบโตสมบูรณ์ดี
- มีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศน์ นอกจากจะช่วยให้พืชในป่าเจริญเติบโตดี เป็นอาหารสัตว์ป่าแล้ว ตัวปลวกเองยังเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนของสัตว์ขนาดเล็กหลายชนิด เช่น ไก่ นก กบ คางคกและสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์ใหญ่ต่อไปเป็นทอดๆ
- เป็นแหล่งผลิตโปรตีนที่สำคัญของมนุษย์โดยปลวกบางชนิดสามารถสร้างเห็ดโคน ซึ่งเป็นอาหารอันโอชะแลพมีราคาแพง สามารถเพิ่มรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร ทั้งนี้โดยมีเชื้อราที่อยู่ร่วมกันภายในรังปลวกหลายชนิดช่วยในการผลิต
- จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารปลวก สามารถผลิตเอนไซม์บางชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ด้านการเกษตร อุตสาหกรรมหรือใช้ในการแก้ไขและควบคุมสภาวะแวดล้อมในอนาคตต่อไป เช่น การย่อยสลายสารกำจัดศัตรูพืช ที่มีฤทธิ์ตกค้างนานหรือการกำจัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
โทษที่เกิดจากปลวก ปลวกเป็นแมลงที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อ
- กล้าไม้ และไม้ยืนต้น ในป่าธรรมชาติและสวนป่า
- ไม้ใช้ประโยชน์ที่อยู่กลางแจ้ง
- ไม้ใช้ประโยชน์ที่เป็นโครงสร้างภายในอาคารบ้านเรือน
- วัสดุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ทํามาจากไม้ และพืชเส้นใย เช่น โต๊ะ ตู้ กระดาษ หนังสือ พรมและเสื้อผ้า เป็นต้น
- กัดทำลายรากของพืชเกษตร พืชไร่ พืชผัก พืชสวนและไม้ผล
วิธีกำจัดปลวก
ระบบเหยื่อกำจัดปลวกเอ็กซ์เทอร์ร่า
ระบบดักจับและกำจัดปลวกด้วยเหยื่อเอ็กซ์เทอร์ร่า (Exterra) เป็นการจัดการปัญหาปลวกด้วยมาตรฐาชั้นเยี่ยม เป็นการกำจัดปลวกที่มีประสิทธิภาพในระยะยาว ปลอดภัยต่อครอบครัวท่านและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
การทำงานของเอ็กซ์เทอร์ร่า (Exterra)
1. เอ๊กซ์เทอร์ร่าเริ่มต้นจากดิน
ขั้นตอนแรกของเอ๊กซ์เทอร์ร่า คือ ติดตั้งสถานีฝังดินรอบๆ อาคารใกล้ๆ บริเวณที่ปลวกเดินออกหาอาหาร ภายในสถานีมีไม้ที่เป็นอาหารที่ปลวกชอบกิน และไม่มีสารพิษเจือปน
กรณีพื้นผิวคอนกรีต
หากบริเวณโดยรอบตัวอาคารเป็นพื้นคอนกรีต สถานีฝังคอนกรีตแบบพิเศษของเอ๊กซ์เทอร์ร่า จะถูกนำมาติดตั้ง สถานีมีฝาทำจากสเตนเลส (Stainless steel) ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้น้ำไหลลงไปในสถานี้ได้
2. การติดตั้งสถานีบนดิน
จะใช้ในกรณีที่บ้านของท่านมีปลวกอยู่แล้ว โดยใส่เหยื่อไว้ในสถานีที่ติดตั้งปิดให้มิดชิด และปลอดภัย สถานีบนดินจะเร่งขั้นตอนในการกำจัดปลวกตายยกรังหลักจากกำจัดปลวกตายยกรังแล้วจะถอดสถานีบนดินออก
3. เมื่อปลวกถูกดักจับ
การตรวจดูปลวกทำได้ง่ายในสถานีเอ๊กซ์เทอร์ร่า โดยการออกแบบที่มีเอกลักษณ์ (จดสิทธิบัตร) ของสถานีเอ๊กซ์เทอร์ร่า ทำให้ตรวจดูปลวกได้โดยไม่ต้องรบกวนปลวก ซึ่งสิ่งนี้สำคัญมาก และปลวกจะไม่ถูกรบกวนเวลาใส่เหยื่อเช่นกัน
4. การใส่เหยื่อริเควี่ยม (Requiem) ในการกำจัดปลวก
ใส่เหยื่อกำจัดปลวกริเควี่ยมโดยไม่มีการรบกวนปลวก ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่จะทำให้การกำจัดปลวกได้ผลเร็วและสม่ำเสมอ ซึ่งปลวกชอบเหยื่อริเควี่ยมมากกว่าไม้ จากการทดสอบพบว่าเมื่อปลวกเริ่มกินริเควี่ยมจะหยุดกินไม้ในบ้านท่าน และเหยื่อกำจัดปลวกริเควี่ยมไม่เป็นพิษต่อท่านและสัตว์เลี้ยงของท่าน
5. ปลวกไม่สามารถต้านทานต่อริเควี่ยม ซึ่งนำไปสู่การกำจัดตายยกรัง
ปลวกกินริเควี่ยมและนำกลับไปที่รัง ซึ่งริเควี่ยมจะถูกกินอย่างช้าๆ ไปจนทั่วทั้งรัง เนื่องจากปลวกค่อยๆ ทยอยตายลงไปเรื่อยๆ ทำให้ปลวกที่เหลือไม่รู้ตัวถึงการตายยกรังจากการกินริเควี่ยม ทำให้แน่ใจได้ว่าปลวกถูกกำจัดจนตายยกรัง
6. เมื่อปลวกถูกกำจัดตายยกรัง
ริเควี่ยมที่เหลืออยู่จะถูกเคลื่อนย้ายออก และจะใส่ไม้ชิ้นใหม่ในสถานีฝังดิน ส่วนสถานีบนดินจะถูกเคลื่อนย้ายออก และการตรวจสอบสถานียังคงมีต่อไปอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบ้านของท่านยังคงมีโอกาสที่จะถูกปลวกรังใหม่หรือรังอื่นๆ ที่มีอยู่เดิมรอบๆ บ้านท่านบุกรุกอีกในอนาคต เพื่อป้องกันภัยคุกคามที่อยู่อย่างต่อเนื่องนี้ ระบบเอ็กซ์เทอร์ร่าต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นกระบวนการการตรวจสอบสถานี ใส่เหยื่อ และกำจัดปลวกให้ตายยกรัง
ระบบเคมีกำจัดปลวก
1. การอัดน้ำยาเข้าท่อ (Pipe Treatment)
การทำ Pipe Treatment เป็นการอัดน้ำยาเข้าท่อที่ติดตั้งไว้ใต้อาคารเพื่อป้องกันและกำจัดปลวก การอัดน้ำยาเข้าท่อโดยวิธีใช้เครื่องอัดแรงดันสูงทำให้น้ำยาแพร่กระจายตามท่อที่ติดตั้งไว้
2. การอัดน้ำยาลงดิน (Soil Treatment)
การทำ Soil Treatment จะทำบริเวณสนามพื้นดินรอบๆ ตัวบ้านเพื่อให้น้ำยาตกค้างบริเวณดินรอบตัวบ้านเพื่อเป็นการป้องกัน/ กำจัดปลวก โดยทำการ Soil Treatment อัดน้ำยาลงดินทุก ๆ 1 ตารางเมตร
3. ระบบพ่นน้ำยา (Spraying System)
เจ้าหน้าที่จะทำการพ่นสเปรย์น้ำยาในบริเวณ ที่คาดว่าจะเป็นจุดที่ปลวกจะสามารถสร้างความเสียหาย กับบริเวณภายในของตัวบ้าน เช่น วงกบประตู หน้าต่าง ขอบบัวไม้ คิ้วไม้ ขอบซอกงานเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ เพื่อเป็นการป้องกันปลวกและกำจัดปลวก ด้วยน้ำยาที่มีประสิทธิภาพ และไม่มีกลิ่นฉุนจึงทำให้การฉีดพ่นน้ำยาได้ทั่วถึงทุกจุด ภายในตัวบ้าน